สายไฟ มีกี่ประเภท
"สายไฟ" มีกี่ประเภท? เลือกแบบไหนให้ตอบโจทย์การใช้งาน !
สายไฟ (Electric Wire) อุปกรณ์ตัวกลางที่ส่งผ่านพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยสายไฟจะต้องประกอบไปด้วยตัวนำไฟฟ้า ทำจากโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ และมีความต้านทานไฟฟ้าน้อยอย่างเช่นทองแดง และมีฉนวนไฟฟ้าที่ใช้หุ้มโลหะนั้นไม่ให้เราสัมผัสกับสายตรง ๆ เพื่อลดอันตรายจากไฟฟ้า ซึ่งสายไฟมีทั้งสายมีแค่ตัวนำไฟฟ้าอย่างเดียว สายไฟที่มีฉนวนหุ้ม และสายไฟที่ห่อหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกที เพื่อเสริมชั้นการป้องกันวัสดุที่อยู่ภายในสายไฟ
ประเภทสายไฟแบ่งได้หลัก ๆ 2 ประเภท
- สายไฟแรงดันต่ำ (Low Voltage Power Cable) เป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ ทำด้วยทองแดงหรืออะลูมิเนียม ซึ่งส่วนใหญ่ทำด้วยทองแดง หากเป็นสายขนาดเล็กจะเป็นตัวนำเส้นเดี่ย แต่ถ้าเป็นสายขนาดใหญ่จะเป็นตัวนำตีเกลียว ส่วนฉนวนที่ใช้งานจะเป็น PVC และ XLPE โดยชนิดของสายไฟแรงดันต่ำ สามารถแบ่งได้ดังนี้
- ชนิด IV
- ชนิด THW
- ชนิด NYY
- ชนิด VAF
- ชนิด VCT
- สายไฟแรงดันสูง (High Voltage Power Cable) เป็นสายชนิดตีเกลียวมีขนาดใหญ่ ตัวนำทองแดง มีทั้งสายแบบทั้งแบบเปลือยและหุ้มฉนวน สามารถรับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 36kV ถึง 170kV โดยชนิดของสายไฟแรงดันสูง สามารถแบ่งได้ดังนี้
- สายเปลือย
- สายอะลูมิเนียมตีเกลียวเปลือย (AAC)
- สายอะลูมิเนียมผสม (AAAC)
- สายอะลูมิเนียมแกนเหล็ก (ACSR)
- สายหุ้มฉนวน
- สาย Partial Insulated Cable (PIC)
- สาย Space Aerial Cable (SAC)
- สาย Preassembly Aerial Cable
- สาย Cross-linked Polyethylene (XLPE)
- สายเปลือย
คุณสมบัติของของสายไฟแต่ละประเภท
- สาย THW 1.0 / สาย IEC 05 (IV)
- สายอ่อน ทนแรงดัน 300 โวลต์
- มีสายแกนเดียวหุ้มฉนวน
- สำหรับเดินเข้าอาคารที่ใช้ระบบเฟส 1 (ห้ามใช้กับระบบ 3 เฟส)
- ห้ามร้อยท่อฝังดิน และห้ามฝังดินโดยตรง
- สาย IEC 01 (THW) / สาย THW 1.5 ขึ้นไป
- สายแข็ง ทนแรงดัน 750 โวลต์
- มีสายทองแดงแกนเดียว
- เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม บ้านทั่วไป
- เดินในช่องเดินสายไฟ หรือฝังท่อ
- ห้ามฝังดินโดยตรง
- สาย VAF
- สายแข็ง ทนแรงดัน 300 โวลต์
- มีสายเดี่ยวและสายคู่ที่มีสายดิน
- สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป
- เดินในช่องเดินสายไฟ หรือฝังท่อ
- ห้ามฝังดินโดยตรง
- สาย IEC 52 / สาย VKF
- สายอ่อน ทนแรงดัน 300 โวลต์
- มีสายแบบคู่หุ้มฉนวน
- สำหรับใช้งานปลั๊กพ่วงต่าง ๆ ภายในบ้าน
- ห้ามฝังดินโดยตรง
- สาย VCT / สาย IEC 53
- สายอ่อน ทนแรงดัน 750 โวลต์
- มี 2, 3 และ 4 แกน
- ทนแรงสั่นสะเทือนได้ดี เหมาะสำหรับต่อเข้ากับเครื่องจักร
- เดินในช่องเดินสายไฟ ฝังท่อ หรือฝังดินโดยตรง
- สาย IEC 06 (0.5, 1.0) / สาย IEC 02 (1.5 ขึ้นไป) / สาย THW (F)
- สายอ่อน ทนแรงดัน 300 โวลต์
- มีสายแกนเดียวหุ้มฉนวน
- สำหรับเดินลอย หรือต่อกับตู้คอนโทรล
- ใ้ช้สำหรับเดินระบบ
สีของสายไฟแต่ละประเภทหมายความว่าอย่างไร ?
เราขอหยิบข้อมูลการแบ่งสีของสายไฟ ระบบ 1 เฟส มาฝากทุกคน เนื่องจากเป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปตามบ้าน ด้วยแรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยสีของสายไฟได้มีการเปลี่ยนสีตามมาตรฐาน มอก. จาก มอก. 11-2531 มาเป็น มอก.11-2553 เรียบร้อยแล้ว
- N นิวทรัล
- สีมาตรฐาน มอก. 11-2531 : เทาอ่อน ขาว
- สีมาตรฐาน มอก. 11-2553 : ฟ้า
- หมายถึง สายกลางที่จำเป็นสำหรับความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า
- เฟส A
- สีมาตรฐาน มอก. 11-2531 : ดำ
- สีมาตรฐาน มอก. 11-2553 : น้ำตาล
- หมายถึง ลวดที่นำพลังงานไปสู่วงจรทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นสายจ่ายไฟไปยังเต้าเสียบ หรือสวิตซ์ไฟฟ้า
- เฟส B
- สีมาตรฐาน มอก. 11-2531 : เแดง
- สีมาตรฐาน มอก. 11-2553 : ดำ
- หมายถึง ลวดความร้อนสายที่สองสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่เคลื่อนที่ เช่น โทรทัศน์ แอร์ เตาอบ
- เฟส C
- สีมาตรฐาน มอก. 11-2531 : น้ำเงิน
- สีมาตรฐาน มอก. 11-2553 : เทา
- หมายถึง ลวดความร้อน ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเคลื่อนที่ และใช้ปลั๊กทั่วไป เช่น พัดลม เครื่องกรองอากาศ โคมไฟ เครื่องดูดฝุ่น
- G สายดิน
- สีมาตรฐาน มอก. 11-2531 : เขียว / เขียวแถบเหลือง
- สีมาตรฐาน มอก. 11-2553 : เขียวแถบเหลือง
- หมายถึง สายดิน ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด ไฟรั่ว
การเลือกใช้สายไฟที่ผ่านมาตรฐาน มอก. คือเช็กลิสต์พื้นฐานในการเริ่มต้นใช้งาน และเราควรตรวจสอบอุปกรณ์การใช้งานต่าง ๆ ทุกครั้งที่ซื้อมา เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองและคนในครอบครัว ยิ่งเมื่อเรารู้แล้วว่าสายไฟแต่ละแบบมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร สีของสายไฟแบบไหนหมายถึงอะไรบ้าง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราระมัดระวัง รู้เท่าทันอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ และใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม